วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

10 อันดับเทศกาลท่องเที่ยวเดือน พฤษภาคม ประจำปี 2557

10 อันดับเทศกาลท่องเที่ยวเดือน พฤษภาคม ประจำปี 2557

ในเดือนพฤษภาคมนั้นหลายๆคนอาจจะคิดว่า ไม่ค่อยมีวันหยุดหรือวันว่าง หรือไม่รู้ว่าจะไปไหนดีมีที่ท่องเที่ยวหรือจังหวัดไหนบ้างที่น่าสนใจหรือน่าไปเที่ยว หลายคนอาจจะได้หยุดยาวกันบ้างในช่วงเดือนพฤษภาคม หลายคนอาจจะมีแพลนเที่ยวแล้ว หรือบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวไหน วันนี้ทางทีมงาน toptenthailand ของเราจึงได้นำเอา 10 อันดับเทศกาลท่องเที่ยวเดือน พฤษภาคม ประจำปี 2557 มาให้ทุกคนได้ตัดสินใจกันว่า วันหยุดนี้จะไปเที่ยวไหนดี หรืออยากพักผ่อนที่ไหนดีที่มีงานเทศกาลให้ได้ชมกัน ถ้าอยากรู้แล้วไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ

10. งานประเพณีของดีเมืองจันท์วันผลไม้

ขอบคุณรูปภาพจาก : blogspot.com
จัดในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ณ สนามกีฬากลางจังหวัด โดยกิจกรรมภายในงานจะมีการประกวดธิดาชาวสวน ประกวดผลไม้ ประกวดขบวนแห่รถยนต์ ประดับผลไม้ แข่งขันกินผลไม้ อีกทั้งยังมีการจำหน่ายผลไม้และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป อาหารทะเล ตลอดจนการแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร เป็นต้น ภายในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การประกวดธิดาชาวสวน การประกวดผลไม้ 5 ชนิด ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง สละ การแข่งขันกินทุเรียน การแข่งขันประกอบอาหารคาว การออกร้านจำหน่ายอัญมณี และร้านของกลุ่มเกษตรกร
สถานที่จัดงาน จังหวัดจันทบุรี

9. เทศกาลอาหารทะเล

ขอบคุณรูปภาพจาก : aroisure.com
จัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต ชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตในฤดูฝน กิจกรรมของงานมีการประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจำภาค การแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ
สถานที่จัดงาน จังหวัดภูเก็ต

8. ประเพณีชักพระศรีอาริย์ วัดไลย์

ขอบคุณรูปภาพจาก : palungjit.org
ประเพณีชักพระศรีอาริย์ หรือแห่พระศรีอาริย์ถือปฏิบัติกันมาช้านาน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ประมาณเดือนพฤษภาคมซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา) ของทุกปี ทางวัดจะจัดให้มีการอัญเชิญพระศรีอาริย์มาประดิษฐานบนแท่นตะเฆ่ แล้วให้ประชาชนร่วมกันชักพระไปทางทิศเหนือ เริ่มจากวัดไลย์ไปสุดทางที่วัดท้องคุ้ง แล้วชักกลับมายังวัดไลย์ ระหว่างทางจะมีผู้เข้าร่วมขบวนเป็นจำนวนมาก จะหยุดขบวนในแต่ละจุดเพื่อให้ผู้ที่ศรัทธาได้สรงน้ำและนมัสการ นอกจากนั้นตลอดระยะทางที่แห่พระศรีอาริย์ไปนั้นจะมีผู้ตั้งโรงทานสำหรับ
สถานที่จัดงาน จังหวัดลพบุรี

7. งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิง

ขอบคุณรูปภาพจาก : reviewthaitravel.com
งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้น ณ วัดไร่ขิง ตำบลไร่ขิง ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 ถึงวันแรม 4 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากหน่วยงานต่าง ๆ และเกษตรกรผู้ผลิต มีการประกวดผลไม้และจัดแสดงมหรสพตลอดคืน ซึ่งทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการหลวงพ่อปีละ 3 ครั้ง คือ ในเทศกาลวันออกพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทางวัดได้จัดงานตักบาตรเทโว และฟังเทศน์ จึงถือเป็นโอกาสให้มีการปิดทองนมัสการหลวงพ่อด้วย ในเทศกาลตรุษจีน เพื่อให้ชาวจีนที่เคารพบูชาหลวงพ่อ ได้มีโอกาสกราบไหว้ปิดทองถวายเป็นพุทธบูชา
ในงานเทศกาลนมัสการปิดทองรูปหลวงพ่อ ประจำปี ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 จนถึง แรม 3 ค่ำ เดือน 5
สถานที่จัดงาน จังหวัดนครปฐม

6. ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ขอบคุณรูปภาพจาก : oknation.net
เนื่องจากพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเสมือนตัวแทนของพระพุทธศาสนา และชาวนครฯ เชื่อมั่นว่ามีบุญญาภินิหารหาที่เปรียบมิได้ ทั้งนี้เพราะว่าภายในเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในปีหนึ่งๆ จะต้องมีการบูชาบวงสรวง นำผ้ามาห่อหุ้มองค์เจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในการดำรงชีพทุกด้าน ประเพณีนี้จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ซึ่งจะทำกัน ในวันมาฆบูชา คือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และในวันวิสาขบูชา คือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พุทธศาสนิกชนทั่วไปจัดขบวนแห่ผ้าพระบฏนำขึ้นไปถวายสักการะในเวลากลางคืน จะเวียนเทียนร่วมกัน เสร็จจากเวียนเทียนแล้วก็จะเที่ยวชมมหรสพพื้นบ้านกัน
สถานที่จัดงาน จังหวัดนครศรีธรรมราช

5. เทศกาลไหว้พระธาตุขามแก่น

ขอบคุณรูปภาพจาก : nootalon.com
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญเดือนหก (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ณ วัดเจติยภูมิ เป็นงานเฉลิมฉลองพระธาตุเพื่อให้ประชาชนได้สักการะพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ในงานมีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ
สถานที่จัดงาน จังหวัดขอนแก่น

4. ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย

ขอบคุณรูปภาพจาก : combatinghate.com
เป็นประเพณีเก่าแก่ มีขึ้นในวันเพ็ญเดือนหก หรือที่ชาวลำพูนเรียกว่า วันแปดเป็งของทุกปี โดยมีพิธีสรงน้ำและงานสมโภชพระธาตุหริภุญชัย พระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงพระธาตุเป็นประจำทุกปี นอกจากชาวลำพูนแล้ว ยังมีชาวจังหวัดใกล้เคียงและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าชมงานนี้อย่างหนาแน่น
สถานที่จัดงาน จังหวัดลำพูน

3. งานประเพณีการละเล่นผีตาโขน

ขอบคุณรูปภาพจาก : wordpress.com
จัดขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย ในวันเสาร์-อาทิตย์ หลังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี หลังจากงานนมัสการพระธาตุศรีสองรักแล้ว งานประเพณีการละเล่นผีตาโขนเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่มีขึ้นในอำเภอด่านซ้ายและอำเภอนาแห้วเท่านั้น โดยมีการแห่ผีตาโขนในงานบุญหลวง ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่น การละเล่นผีตาโขนส่วนมากจะเล่นกันเฉพาะผู้ชาย ตั้งแต่เด็กรุ่นๆ ถึงผู้ใหญ่ โดยแบ่งการจัดงานเป็นสองวัน ในวันแรกจะมีพิธีแห่พระอุปคุตจากลำน้ำหมันมาที่วัดโพนชัย วันที่สองมีการแห่เข้าเมือง และผู้เล่นจะนำเครื่องผีตาโขนไปโยนทิ้งแม่น้ำหมัน จากนั้นเวลาค่ำจะมีการเทศก์มหาชาติถึง 13 กัณฑ์
สถานที่จัดงาน จังหวัดเลย

2. งานแห่เทียนพรรษา

ขอบคุณรูปภาพจาก : uppices.com
เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี จัดให้มีขึ้นทุกปีในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา สถานที่จัดคือบริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียนจะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนนมาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง ในตอนกลางคืนจะมีมหรสพและการแสดงสมโภชต้นเทียนและเห็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน
สถานที่จัดงาน จังหวัดอุบลราชธานี

1. งานประเพณีบุญบั้งไฟ

ขอบคุณรูปภาพจาก : banlathai.net
มีขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะ และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ทางเทศบาลเมืองยโสธร และคณะกรรมการจังหวัดยโสธรได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟขึ้น เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ประเพณีนี้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยกำหนดวันงานแน่นอนทุกปี พิธีกรรม บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่นๆ แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟนั้นจะนำมาตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณี บั้งไฟที่จัดทำมีหลายชนิดคือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นกิโลก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสนก็ใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวณผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องมีไม้ไผ่ที่ทีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน สำหรับขบวนเซิ้งบั้งไฟนั้นมีความยาวหลายกิโลเมตร ในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา
สถานที่จัดงาน จังหวัดยโสธร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น