วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

10 อันดับ การประท้วงเชิงสัญลักษณ์


10. นักสู้นิรนาม

อันดับ 10 นักสู้นิรนาม เริ่มต้นกันที่อันดับ 10 จาก toptenthailand การชุมนุมใหญ่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมียนกลางกรุงปักกิ่งเมื่อปี 1989 ไม่มีภาพใดที่จะสะท้อนการเรียกร้องประชาธิปไตยในจีนที่ส่งผลกระท้อนได้เท่ากับภาพของชายนิรนามที่เผชิญหน้ากับขบวนรถถังของกองทัพที่เข้าปราบปรามการชุมนุมเพียงลำพัง ทุกวันนี้ภาพของชายนิรนามยังคงเผยแพร่ในฐานะสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับอำนาจที่เหนือกว่า แต่ชะตากรรมและชื่อเสียงของบุคคลนี้ยังคงเป็นปริศนา

9. ชูกำปั้นคัดค้าน

อันดับ 9 ชูกำปั้นคัดค้าน ถัดมาในอันดับ 9 จาก toptenthailand ระหว่างการรับเหรียญรางวัลในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเม็กซิโก ซิตี้ เมื่อปี 1968 ทอมมี สมิธ และ จอห์น คาร์รอส นักวิ่งผิวสีชาวสหรัฐ สร้างความฮือฮาด้วยการเดินเท้าเปล่าขึ้นแท่นรับเหรียญพร้อมชูกำปั้นเหนือศีรษะ โดยสมิธสวมถุงเท้าดำ เป็นสัญลักษณ์ของความยากจนในหมู่ชนผิวสี ขณะที่คาร์ลอสสวมลูกปัดเป็นสัญลักษณ์ของการทำร้ายคนผิวสี และปีเตอร์ นอร์แมน นักวิ่งผิวขาวชาวออสเตรเลียร่วมประท้วงการกดขี่คนผิวสีด้วยกัน โดยสวมเสื้อรณรงค์สิทธิมนุษยชน การกระทำของนักกีฬาทั้ง 3 ได้ปลุกกระแสเรียกร้องสิทธิมนุษยชนไปทั่วโลก

8. ลงคะแนนด้วยรองเท้า

อันดับ 8 ลงคะแนนด้วยรองเท้า เรื่องราวเป็นยังไงกัน อันดับ 8 จาก toptenthailand มูลเหตุเกิดจากนาย มุนตาเซอร์ อัลไซดี ผู้สือข่าวชาวอิรักกลายเป็นข่าวดังทั่วโลก เมื่อลุกขึ้นมาขว้างรองเท้าเข้าใส่อดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ระหว่างการแถลงข่าวสั่งลาตำแหน่งผู้นำสหรัฐที่กรุงแบบแดด แม้ว่ามุนตาเซอร์ จะถูกรวบตัวและทำร้ายร่างกายอย่างหนักจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของอิรัก แต่ได้กลายเป็นแบบอย่างให้มีคนลุกขึ้นมาประท้วงด้วยการปารองเท้าอีกหลายราย

7. เสียงเพลงแห่งความเท่าเทียม

อันดับ 7 เสียงเพลงแห่งความเท่าเทียม ต่อมาอันดับ 7 จาก toptenthailand แมเรียน แอนเดอร์สัน เป็นนักร้องที่ได้รับการยกย่องจากนักดนตรีชั้นนำของโลกว่ามีเสียงที่หาได้ยากยิ่งในรอบ 100 ปี อย่างไรก็ตาม เธอกลับถูกปฏิเสธจากสมาคม Daughters of American Revolution ไม่ให้ร่วมร้องเพลงที่คอนสติติวชั่น ฮอล ในกรุงวอชิงตันเมื่อปี 1939 จนก่อให้เกิดกระแสไม่พอใจอย่างรุนแรง จนกระทั่งรัฐบาลต้องเชิญแมเรียน แอนเดอร์สันมาร้องเพลงที่ลินคอร์น เมมโมเรียลแทน ท่างกลางฝูงชนกว่า 7.5 หมื่นคน และอีกนับล้านคนที่ฟังทางวิทยุ แมเรียน แอนเดอร์สันเป็นอีกหนึ่งคนที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมือง

6. การสังหารนักศึกษาที่รัฐโอไฮโอ

อันดับ 6 การสังหารนักศึกษาที่รัฐโอไฮโอ มาที่อันดับ 6 จาก toptenthailand ภาพของแมรี เวคคิโอ หญิงสาววัย 14 ปีที่กำลังเรียกร้องความช่วยเหลือเหนือร่างไร้วิญญาณของเจฟฟรีย์ มิลเลอร์ ไม่เพียงเป็นภาพยอดเยี่ยมแห่งปีจนได้รับรางวัลฟิวลิตเชอร์เท่านั้น แต่ยังปลุกกระแสความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลในสถาบันการศึกษานับร้อยแห่งทั่วสหรัฐ หลังจากที่กองกำลังป้องกันประเทศกราดยิงเข้าใส่นักศึกษามหาวิทยาลัยเคนต์ สเตท ในรัฐโอไฮโอ จนคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ถึง 4 รายและหนึ่งในนั้นคือเจฟฟรีย์ มิลเลอร์ ในรูปภาพ

5. ซัดดัมสิ้นอำนาจ

อันดับ 5 ซัดดัมสิ้นอำนาจ อยู่กันที่อันดับ 5 จาก toptenthailand หลังจากที่กองทัพสหรัฐเคลื่อนพลเข้าสู่กรุงแบกแดดของอิรักเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2003 ชาวอิรักต่างพากันมาชุมนุมที่อนุสาวรีย์ขนาดมหึมาของซัดดัม ฮุสเซน ที่จตุรัสฟีร์ดอส เพื่อพยายามโค่นล้มอนุสาวรีย์ของอดีตเผด็จการรายนี้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากยานเกราะของนาวิกโยธินสหรัฐ จนกระทั่งอนุสาวรีย์พังทลายลง ถูกลากประจานไปตามท้องพื้นถนนของกรุงแบกแดด เพื่อป่าวประกาศการสิ้นสุดของระบอบเผด็จการในอิรัก

4. เสียงปืนจากเตหะราน

อันดับ 4 เสียงปืนจากเตหะราน ต่อมาคืออันดับ 4 จาก toptenthailand เนดา อักฮา โซตัน หญิงสาวชาวอิหร่านวัย 26 ปี กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพในอิหร่าน และเป็นประจักษ์พยานของการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงอย่างโหดร้าย ในระหว่างการประชุมผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2009 หลังจากที่คลิปวีดีโอความยาวเพียงแค่ 40 วินาที ได้จุดกระแสไปทั่วโลก คลิปดังกล่าวบรรทึกภาพวินาทีสุดท้ายของเนดา อักฮา โซตัน หลังจากถูกยิงเข้าที่ทรวงอกระหว่างชุมนุมประท้วงในกรุงเตหะราน แม้จะต้องสิ้นใจในที่สุด แต่ภาพวินาทีสุดท้ายของเธอได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายค้านในอิหร่าน

3. พระเวียดนามเผาตัวเองประท้วง

อันดับ 3 พระเวียดนามเผาตัวเองประท้วง มาถึงในอันดับ 3 จาก toptenthailand ท่ามกลางความจอแจของนครไซง่อน (โฮจิมิน ซีตี้ ในปัจจุบัน) ของวันที่ 11 มิ.ย. 1963 พระสงฆ์ชาวเวียดนามที่ชื่อ ทิชกวงดุ๊ก นั่งลงกลางถนนของเมืองหลวงของเวียดนามใต้ ชุบจีวรของท่านจนชุ่มด้วยน้ำมันแล้วจุดไฟเผาร่างของตัวเองจนมอดไหม้ท่ามกลางความตื่นตะลึงของผู้คนนับพัน การเผาตัวเองครั้งนี้เพื่อประท้วงประธานาธิบดี โงดินเดียม แห่งเวียดนามใต้ที่ข่มเหงชาวพุทธเวียดนามอย่างรุนแรง จนกระทั่งในเดือน พ.ย. ปีเดียวกัน โงดินเดียม ต้องสิ้นอำนาจจากการรัฐประหารของทหารกลุ่มหนึ่ง และถูกสังหารในเวลาต่อมา

2. การดื้อแพ่งของ โรซ่า พาร์ค

อันดับ 2 การดื้อแพ่งของ โรซ่า พาร์ค การประท้วงอันดับ 2 จาก toptenthailand ก่อนหน้านี้ชาวสหรัฐผิวสีในเมืองมอนโกเมอรี รัฐอัลลาบามา ต้องนั่งรถบัสในพื้นที่ต่างหากจากที่นั่งของคนผิวขาว แต่ในวันที่ 1 ธ.ค. 1946 โรซ่า พาร์ค หญิงผิวสีคนหนึ่งปฏิเสธที่จะลุกขึ้นจากที่นั่งสำหรับคนผิวขาวจนตำรวจจับกุมตัว วีรกรรมของโรซ่า พาร์ค ขยายวงเป็นขบวนการเรียกร้องสิทธิของคนผิวสีให้ทัดเทียมกับคนผิวขาว ในปีถัดมาศาลสูงสหรัฐตัดสินว่า การแบ่งแยกที่นั่งตามผิวสีและเชื้อชาติ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทุกวันนี้ โรซ่า พาร์ค ได้รับการยกย่องให้เป็น “มารดาแห่งการต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมือง”

1. การสิ้นสุดกำแพงเบอร์ลิน

อันดับ 1 การสิ้นสุดกำแพงเบอร์ลิน และนี้คืออันดับ 1 จาก toptenthailand เป็นเวลา 28 ปีที่ชาวเบอร์ลินและชาวเยอรมนีทั้งประเทศต้องถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและตะวันออก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังสงครามสงบลง ในวันที่ 9 พ.ย. 1989 ชาวเบอร์ลินนับแสนคนทั้ง 2 ฝั่ง ต่างมารวมตัวกันที่แนวกำแพงเพื่อรวมกันทำลายปราการที่แบ่งโลกออกเป็นค่ายเสรีนิยม และสังคมนิยม หลังจากนั้นอีก 1 เดือนต่อมา เยอรมนีได้รวมตัวเป็นประเทศเดียวกันอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น