แหล่งที่มา : toptenthailand
10. ถึงแก่อสัญกรรม

นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เจ้าของฉายา "หญิงเหล็ก" ถึงแก่อสัญกรรมแล้วขณะอายุ 87 ปี ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก และจากไปอย่างสงบในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาอังกฤษ หลังจากสุขภาพไม่ดีมานานหลายปี มาร์กาเร็ตจัดได้ว่าเป็นนายกหญิงแกร่งคนหนึ่งของโลก ผลงานและสิ่งดีๆที่เธอได้ทำเอาไว้จะทำให้เธอได้อยู่ในใจของใครอีกมากมาย และจะไม่มีวันที่ใครจะลืมชื่อของเธอ มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ หญิงเหล็กแห่งอังกฤษ
9. ตัวตนและยศที่ได้รับ

ตราประจำตำแหน่งของบารอนเนสแทตเชอร์ ภาพนายพลเรือแทนสงครามฟอล์กแลนด์ ภาพเซอร์ไอแซก นิวตันแทนภูมิหลังแห่งการเป็นนักเคมีและแทนบ้านเกิดเมืองแกรนแทม หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางตลอดชีพชั้นบารอน แทตเชอร์ได้ตระเวนปาฐกถาไปทั่วโลกในนามของมูลนิธิแทตเชอร์ และได้ตีพิมพ์หนังสืออัตชีวประวัติชื่อ "มาร์กาเรต แทตเชอร์: ชีวิตในดาวนิงสตรีต" (Margaret Thatcher: the Downing Street Years) เมื่อปี พ.ศ. 2536
8. บั้นปลายชีวิต

แทตเชอร์ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน 2533 สืบเนื่องจากการต่อสู้ภายในพรรคและการถกเถียงโต้แย้งกับฝ่ายค้านในประเด็น ที่แทตเชอร์ไม่ยอมเสียเอกราชในการเข้าเป็นสมาชิกเศรษฐกิจประชาคมยุโรป รวมทั้งการเสื่อมความนิยมจากการไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับนโยบายผู้มีสิทธิ์ออก เสียง (Poll Tax)
7. คะแนนเสียงที่ท่วมท้น

แทตเชอร์ได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2526 ด้วยคะแนนเสียงที่ท่วมท้นโดยได้เสียงข้างมากทั้ง ๆ ที่อัตราการว่างงานของอังกฤษต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี สงครามฟอล์กแลนด์และ ความระส่ำระสายของพรรคฝ่ายค้านทำให้ความนิยมแทตเชอร์เพิ่มมากขึ้นและได้รับ เลืกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 3 ในปี พ.ศ. 2530 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2531 แทตเชอร์ได้ทำสถิติกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดใน คริสต์ศตวรรษ ที่ 20 แทตเชอร์ได้รับการขนานนามว่า ?ลัทธิแทตเชอร์? (Thatcherism) และด้วยเหตุผลที่แทตเชอร์เป็นผู้ดึงดันยึดมั่นในนโยบายอย่างมั่นคงไม่ว่าจะ ถูกคัดค้านจากนักวิจารณ์ว่าอย่างไร รวมทั้งจากการกังขาไม่แน่ใจของผู้สนับสนุนรัฐบาลเองด้วย
6. การเมืองที่ขวาจัด

ด้วยการนำโดยแทตเชอร์ พรรคอนุรักษ์นิยมได้กลายเป็นพรรคขวาจัดมากขึ้น ทำให้การเมืองและสังคมของประเทศอังกฤษแบ่งขั้วมากที่สุดนับแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 รัฐบาลแทตเชอร์ได้ใช้นโยบายปฏิรูปที่ค่อนข้างรุนแรง สนับสนุนกิจการเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งอุตสาหกรรมและสาธารณุปโภคที่รัฐบาลก่อน ๆ ยึดเป็นของรัฐคืนเอกชนด้วยการกระจายหุ้น ลดบทบาทสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ และพยายามจัดตั้งบรรษัทขึ้นดูแลการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นหน้าที่ของรัฐ
5. ชีวิตเริ่มต้นการเมือง

แทตเชอร์เข้าสู่การเมืองได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสถาผู้แทนราษฎรแห่งฟินช์เลย์เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2502 ร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเงา พ.ศ. 2510 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2513-2517 เป็นอัครมหาเสนาบดีเงาร่วม (joint shadow Chancellor) พ.ศ. 2517-18 และใน พ.ศ. 2520 ได้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมแทนนาเอ็ดเวิร์ด ฮีท แทตเชอร์เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ
4. การศึกษาและศาสนา

นางแทตเชอร์ได้รับการเลี้ยงดูแบบลัทธิเมโทดิสต์ที่เคร่งครัดศาสนาและยังคง เป็นคริสต์ศาสนิกชนมาตลอดชีวิตของนาง นางแทตเชอร์ได้รับการศึกษาอย่างดี โดยเข้าเรียนในโรงเรียนเด็กหญิงเคสตีเวนและแกรนแธม และต่อมาในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้เข้าเรียนในวิทยาลัยซอเมอร์วิลล์ เมืองออกซ์ฟอร์ด เพื่อเรียนวิชาเคมี โดยเลือกลงเรียนเอกวิชาผลิกศาสตร์ นางได้เป็นประธานสมาคมอนุรักษ์นิยมแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในปี พ.ศ. 2489 โดยเป็นสตรีคนที่สามที่อยู่ในตำแหน่งนี้ นางจบการศึกษาพร้อมกับเกียรตินิยมและทำงานเป็นนักเคมีวิจัยให้แก่ British Xylonite และ บริษัท J. Lyons and Co.
3. ชีวิตในวัยเด็ก

นางแทตเชอร์เกิดที่เมืองแกรนแทมในมณฑลลิงคอล์นไชร์ บิดาของนางคือ อัลเฟรด โรเบิร์ตส์ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายของชำในเมืองและได้มีส่วนรวมในการเมืองและศาสนาของ ท้องถิ่น โดยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดและเป็นฆราวาสนักเทศน์ในนิกายเมโทดิสต์ โรเบิรตส์มาจากครอบครัวพรรคเสรีนิยม แต่ไม่ได้สังกัดพรรคใด ด้วยถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการเมืองท้องถิ่นในสมัยนั้น เขาเสียตำแหน่งผู้ว่าราชการไปในปี พ.ศ. 2495 หลังจากที่พรรคเสรีนิยมชนะเสียงข้างมากเป็นครั้งแรกในสภาเมืองแกรนแทมในปี พ.ศ. 2493 อัลเฟรดได้แต่งงานกับเบียทริซ สตีเฟนสัน และได้มีบุตรีสองคน (คือ นางแทตเชอร์ กับ มูเรียล ซึ่งเป็นพี่สาว เกิด พ.ศ. 2464 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2547)
2. ยาวนานที่สุด

นางแทตเชอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดซอลส์เบอรีและอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดลิเวอร์พูล นายกรัฐมนตรีในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นางเป็นสตรีคนแรกที่นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากของประเทศอังกฤษและเป็นสตรี คนแรกของเพียงสามคนที่ได้ดำรงหนึ่งในสี่ตำแหน่งใหญ่ของประเทศ
1. ประวัติ

มาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์ (อังกฤษ: Margaret Thatcher) หรือ บารอนเนส แทตเชอร์ (ชื่อเดิม มาร์กาเรต ฮิลดา โรเบิรตส์; เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2468) เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2533 และเป็นผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2533 โดยเป็นผู้หญิงคนแรก (และคนเดียวจนถึงบัดนี้) ที่ควบสองตำแหน่งพร้อมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น